วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สาระน่ารู้ !!!! เรื่อง กล้วย กล้วย




      “กล้วย” เป็นพืชที่นิยมปลูกกันทั่วไปตามบ้านเรือน ควบคู่กับวิถีชีวิตของ คนไทยมาเป็นเวลาช้านาน เพราะนอกจากจะนำผลมาใช้เป็นอาหารแล้ว ส่วน อื่นๆ ของลำต้นยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น ใบใช้ห่อของ ปลี ใช้เป็นอาหาร ลำต้นใช้เป็นอาหารสัตว์ ใช้ทำเชือกประดิษฐ์หัตถกรรม และใช้ ทำเป็นกระทงที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมในวันลอยกระทงอีกด้วย กล้วยมีชื่อ ทางวิทยาศาสตร์ว่า Musa sapientum Linn. อยู่ในวงศ์ Musaceae เป็นไม้ ล้มลุก มีลำต้นใต้ดิน อายุหลายปี ลำต้นบนดินรูปทรงกระบอก เกิดจากกาบ หุ้มซ้อนกันสูง 2-4 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับซ้อนกันรอบต้นที่ปลาย ยอด เป็นรูปขอบขนาน กว้าง 2.5-4.5 เมตร ยาว 1-2 เมตร ก้านใบค่อนข้าง กลมหนา ด้านบนเป็นร่องลึก ผิวใบเรียบมัน ท้องใบมีสีอ่อนกว่า มีนวล ดอก ออกเป็นช่อในลักษณะห้อยหัวลง ยาว 30-60 ซม. เรียกว่า ปลี ออกที่ปลาย ยอด มีใบประดับหุ้มช่อ ดอกสีแดงหรือสีม่วง ขนาดใหญ่ เรียกว่า กาบ ดอกย่อย ออกเรียงกันเป็นแผง มีกาบหุ้มรองรับอยู่ โดยดอกที่อยู่ส่วนปลายช่อ เป็นดอก ตัวผู้ ดอกที่โคนช่อเป็นดอกตัวเมีย ผลจึงออกเป็นช่อ เรียกว่า เครือ แต่ละช่อย่อย เรียกว่า หวี กล้วยหวีหนึ่งมีประมาณ 10 ผล เป็นผลสดกลมยาว ขนาด รูปร่าง และรสขึ้นอยู่กับพันธุ์ เนื้อกล้วยมีสีเหลืองครีม เมื่อสุกมีรสหวานรับประทาน ได้ มักไม่มีเมล็ด ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อหรือแยกเหง้า ไม่ชอบดินที่มีน้ำ ขัง จะอยู่ในดินร่วนซุยและดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี ในตำรายาไทยกล่าวถึง สรรพคุณของกล้วย ในการใช้บำบัดรักษาโรคต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
    ราก แก้ไข้รากสาด แก้ไข้ตัวร้อน แก้ขัดเบา
    เหง้า ตำป่นทาท้องน้อยคนคลอดบุตร ทำให้รกลอก ภายหลังการ คลอดบุตร
    ต้น ห้ามเลือด ทากันผมร่วงและทำให้ผมขึ้น แก้โรคไส้เลื่อน
    ใบ รักษาโรคท้องเสีย แก้บิด ห้ามเลือด แก้ผื่นคันตามผิวหนัง
    ยางจากใบ ห้ามเลือด สมานแผล
    ดอก รักษาโรคเบาหวาน
    ผล บำรุงกำลัง บำรุงเลือด เป็นยาระบาย รักษาอาการอาหารไม่ ย่อย ท้องขึ้น มีกรดมาก สมานแผล แก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แก้ท้องร่วง แก้ริดสีดวง
      จะเห็นได้ว่ากล้วยมีสรรพคุณกว้างขวาง พบสารสำคัญหลายชนิดใน กล้วย เช่น benzopyrene, dopamine, epinephrine, tryptamine และ serotonin เป็นต้น โดยผลดิบมีสารแทนนินมาก จึงรักษาอาการท้องเสีย และบิด และมี ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เชื่อว่าเกิดจากการกระตุ้นผนัง กระเพาะอาหารให้หลั่งสารเมือกออกมามากขึ้นและกระตุ้นให้เนื้อเยื่อของ กระเพาะเจริญเพื่อปิดแผลเมื่อเปรียบเทียบกับยารักษาโรคกระเพาะอื่นๆ ซึ่ง เป็นสารเคมีสังเคราะห์ เช่น aluminium hydroxide, cimetidine เป็นต้น สาร ประเภทนี้สามารถป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะได้ แต่ไม่สามารถสมานแผล ได้เหมือนกล้วย สารที่มีฤทธิ์ต้านแผลในกระเพาะของกล้วยคือ sitoindo side I ถึง IV โดยสาร sitoindoside IV หรือ sito sterol - 3 เป็นสารที่มีฤทธิ์มากที่สุด ไม่พบฤทธิ์ต้านการเกิดแผลของกระเพาะอาหารในกล้วยสุก แต่กล้วยสุกมี สรรพคุณเป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร หรือผู้มีอุจจาระแข็ง
      จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า กล้วยเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจ หาได้ง่าย น่าจะได้พัฒนามาใช้เป็นยาต่อไป สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงทำการพัฒนา กล้วยให้ออกมาในรูปผลิตภัณฑ์ยาเม็ด ให้ชื่อว่า “แอนคูซิล” ในการรักษา โรคกระเพาะ เพื่อเป็นการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์และทดแทนการนำเข้า ยาจากต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น